เปลี่ยนอาหารถูกวิธี แฮปปี้แน่นอน
เคล็ดลับเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงณ ช่วงเวลาหนึ่ง สุนัขหรือแมวต้องมีการเปลี่ยนอาหารเป็นสูตรใหม่ หรือเปลี่ยนยี่ห้อไป อาจด้วยอายุที่เปลี่ยนแปลง หรือน้ำหนักที่เปลี่ยนไป น้อง ๆ อาจต้องการอาหารชนิดใหม่เพื่อปรับปรุงสารอาหารที่ควรได้รับ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด น้องหมาหรือแมวต้องได้รับผลข้างไม่มากก็น้อย เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือปฏิเสธการกินอาหารใหม่ไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น การเปลี่ยนอาหารสัตว์เลี้ยงนั้นต้องมีวิธีที่ถูกต้อง เพื่อลดผลกระทบด้วย
การเปลี่ยนอาหารสูตรเดิมมาเป็นสูตรใหม่ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากกระเพาะของน้องหมาและแมวมีปริมาณของจุลินทรีย์ในลำไส้น้อยกว่ามนุษย์มาก และแต่ละตัวก็จะมีความเซนซิทีฟต่างกันไป ซึ่งระยะเวลาในการปรับเป็นอาหารใหม่ต้องใช้อย่างน้อย 7 วัน โดยขั้นตอนควรเริ่มจาก การผสมอาหารใหม่ 25% เข้ากับอาหารชนิดเดิม 75% หลังจากนั้นเจ้าของต้องหมั่นสังเกตว่าน้องมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 วัน จึงผสมอาหารเก่าและอาหารใหม่เป็น 50%ต่อ50% จากนั้นจึงเปลี่ยนมาผสมอาหารใหม่ ในสัดส่วน 75% กับอาหารเดิม 25% และสุดท้ายจึงเป็นอาหารใหม่ 100%
และหลังจากทำจบขั้นตอนแล้ว ผู้เลี้ยงยังต้องคอยสังเกตอุจจาระของน้องหมาและน้องแมวอย่างสม่ำเสมอว่ามีลักษณะแย่ลงมั้ย กินอาหารใหม่แล้วถ่ายยากขึ้นหรือไม่ หรือน้องกินน้ำมากขึ้นหรือไม่ ไปจนถึงสังเกตการเจริญเติบโตและน้ำหนักของน้องเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือน้องมีลักษณะทางกายใด ๆ เปลี่ยนแปลงตามที่เจ้าของประสงค์หรือไม่ เราขอแนะนำ เพอร์เฟคต้า อาหารสุนัข และ เพอร์เฟคต้า อาหารแมว ที่มีอาหารเม็ดหลากหลายสูตร เหมาะสำหรับหลากหลายสายพันธุ์ เจ้าของมั่นใจได้เลยว่า น้องจะได้รับสารอาหารต่าง ๆ ที่ครบถ้วน เหมาะสมตามวัยและลักษณะของน้อง ๆ แน่นอน
อ้างอิงจาก
- Michelle Schenker.2022.caninejournal[Internet].How To Change Your Dog’s Food Safely. accessible from:https://www.caninejournal.com/changing-dog-food/.
- Deborah E. Linder, DVM, MS, DACVIM (Nutrition).2019.vetnutrition[Internet].How do I switch my pet’s food?. Accessible from:https://vetnutrition.tufts.edu/2019/11/how-do-i-switch-my-pets-food/.
- AKC Staff.2022.The American Kennel Club[Internet].How to Switch & Transition Dog Foods. accessible from:https://www.akc.org/expert-advice/nutrition/right-way-switch-dog-foods/.
บทความน่าสนใจ
ปัญหาสุนัขและแมวขนร่วง ผิวหนังแห้ง แดง อักเสบ! น้อง ๆ มีอาการกระสับกระส่าย คันตลอดเวลาดูทรมาณ เจ้าของอย่างเราก็ไม่สบายใจ กินนอนไม่ได้ไปด้วย เพราะมันอาจนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า แถมค่ารักษาพยาบาลก็ค่อนข้างสูง ต้องรักษายังไง หรือป้องกันด้วยวิธีไหนได้บ้าง ? ทำความเข้าใจ สาเหตุของโรคผิวหนังแมว และโรคผิวหนังสุนัข ใช้ชีวิตในห้องแอร์เป็นหลัก ด้วยความที่ประเทศไทยอากาศร้อนมาก หากเลี้ยงน้องหมาและน้องแมวไว้ในบ้าน และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องแอร์เป็นประจำ อย่าว่าแต่น้องหมาน้องแมวเลย แม้แต่ผิวหนังมนุษย์ยังเสียความชุ่มชื้นหากไม่ทาโลชั่น สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นมันจึงส่งผลเสียต่อผิวหนังของน้อง ๆ อย่างมาก พาไปว่ายน้ำ หรืออาบน้ำบ่อย สำหรับน้องหมา การอาบน้ำบ่อย หรือพาไปว่ายน้ำเป็นประจำ จะทำลายไขมันตามธรรมชาติที่ร่างกายน้องผลิต ซึ่งมีผลให้ผิวหนังแห้งตึง รวมถึงเส้นขนไม่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้เพื่อลดอาการสุนัขขนร่วง ตัดขนสั้นเกินไป หากเลี้ยงน้องหมาหรือน้องแมวที่มีขนยาว แล้วกลัวน้องหมาน้องแมวขนร่วงเยอะ จึงพาไปตัดขนจนสั้นเกรียน จะนำมาซึ่งความเสี่ยงผิวหนังโดนแสงแดดเผา และทำให้ผ […]
ทุกคนที่เลี้ยงสุนัขต้องเคยเห็นสุนัขทำท่าเกาหูแน่นอน ไ่ม่ว่าจะเป็นท่ายกขาหลังขึ้นมาเกาหู ท่าเอาหัวถูพื้นไปมา ไปจนถึงสะบัดหูด้วยท่าทีรำคาญหรือแสดงอาการเจ็บปวด ซึ่งนับว่าเป็นปัญหากวนใจอย่างมาก ทั้งสำหรับเจ้าของและเจ้าตูบเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าทำไมสุนัขของเราถึงมีปัญหาคันหู สาเหตุเกิดจากอะไร และเจ้าของควรจะเริ่มต้นแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด ให้น้องหมาหายขาดจากอาการดังกล่าว ตามมาดูกันเลย ปัญหาคันหูของสุนัข เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งภายนอกและภายใน โดยสามารถจำแนกสาเหตุ และต้นตอของการเกิดโรคได้หลัก ๆ ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ อาการคันหู หรือภาวะหูอักเสบนั้น มักจะพบได้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีใบหูใหญ่ และตกลงมาปิดช่องหู ซึ่งจะก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่ายกว่าสุนัขพันธุ์หูตั้งอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น สุนัขสายพันธุ์ บีเกิ้ล, โกลเด้น ริทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ ริทริฟเวอร์, คาวาเลียร์ คิง ชาลร์ สแปเนียล เป็นต้น สิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติเองก็มีสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มากมาย ทั้งไรฝุ่น และละอองเกสร มักพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่อายุ 6 เดือนถึง 3 ปี นำมาซึ่งอาการคันอวัยวะในร่างกายที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนท […]
โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อต่อ ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, ไซบีเรียนฮัสกี้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับข้อที่ต้องคอยรับน้ำหนักมาก หรือข้อที่ใช้งานมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยนอกเหนือจากการเสื่อมไปตามอายุของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ หรือ น้ำหนักตัวของน้องหมาที่มากเกินไป สุนัขของเราเป็นโรคข้อเสื่อมหรือไม่ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากอากัปกิริยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่สุนัขเริ่มทรงตัวได้ไม่ดี ร้องแสดงความเจ็บปวดเมื่อต้องขยับร่างกาย ทำให้น้องขยับตัวน้อยลง ในบางรายที่อาการหนัก น้องหมาอาจเดินในลักษณะที่ไม่ลงน้ำหนัก และเกิดอาการกล้ามเนื้อฝ่อตามมาได้ แน่นอนว่าการดูแลย่อมดีกว่าการรักษาอาการเจ็บป่วยของน้องในระยะยาว หากสุนัขของเรามีความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อม สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญที่สุดคือเรื่องน้ำหนักของสุนัข เนื่องจากข้อต่อต่าง ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้ ดังนั้นหากสุนัขมีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และเจ้าของต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรร […]