สุนัข กับ PM2.5
สุขภาพของสัตว์เลี้ยง
“PM2.5 กลับมาอีกแล้ว” ที่ผ่านมาพวกเราคงได้พบสถานการณ์แบบนี้กันอยู่ตลอด ความหนาแน่นของฝุ่นจะมากน้อยก็แล้วแต่วัน ซึ่งมนุษย์เองก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และคุ้นชินกับการรับมืออย่างการตรวจสอบคุณภาพอากาศจากในแอพพลิเคชั่น จากนั้นก็สวมแมส หรือเปิดเครื่องฟอกอากาศ แต่สุนัขเองไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ เพราะฉะนั้น พวกเราจึงต้องทำการปกป้องเขาจาก PM2.5 ที่เกิดขึ้นเช่นกัน
อย่างที่ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่า PM2.5 คือ ฝุ่นละเอียด ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคไม่เกินกว่า 2.5 ไมครอน โดย PM2.5 สามารถเป็นพาหะนำพาสารอย่าง ปรอท, ไฮโดรคาร์บอน, และสารก่อมะเร็งจำนวนมากมาได้ด้วย ซึ่งแตกต่างกันไปตามที่มา เช่น ฝุ่นควันจากการคมนาคมขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม กิจกรรมจากการเผาไหม้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่โล่ง เช่นการเผาจากภาคการเกษตร ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ของประเทศไทย โดยสุนัขซึ่งใช้จมูกในการรับกลิ่นขั้นสูง จึงได้รับความเสี่ยงมากกว่ามนุษย์มาก โดยเฉพาะ ลูกสุนัข(อายุน้อยกว่า 1 ปี) หมาอายุมากกว่า 6 ปี ขึ้นไป หมาพันธุ์หน้ากลมและหน้าสั้น
และเมื่อสุนัขได้รับเจ้าฝุ่น PM2.5 เข้าไป จะมีอาการเบื้องต้น คือ อาการจาม หายใจลำบาก เหงือกซีด มีน้ำมูก น้ำตาไหล ไปจนถึงอาการเบื่ออาหาร ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจทั้งหมด ไปจนถึงผลเสียต่อโครงสร้างหรือการทำงานของระบบหัวใจ อย่างโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากในสุนัขอีกด้วย
สำหรับการป้องกันผลกระทบของ PM2.5 นั้น แน่นอนว่า ในระยะยาว เราต้องช่วยกันลดต้นกำเนิดของ PM2.5 ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ซึ่งคงต้องอาศัยการร่วมมือร่วมใจกันของทุกๆ คนในสังคม และคงต้องอาศัยระยะเวลาอีกระยะหนึ่งในการที่จะจัดการปัญหาดังกล่าว อย่างไรแล้วยังมีทางที่เราจะทำเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุนัขได้ โดยการป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงของเราต้องสัมผัสหรือสูดดม PM2.5 ตัวอย่างเช่น งดกิจกรรมกลางแจ้งลง ลดระยะเวลาในการพาเดินออกไปขับถ่ายนอกบ้านให้สั้นลง ให้กินน้ำบ่อยๆ เมื่อสุนัขต้องเผชิญหน้ากับ PM 2.5 สุนัขจะกระหายน้ำมากกว่าปกติ และต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพื่อความสะอาดปราศจากฝุ่น และสุดท้าย สุนัขต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์ ผลวิจัยชี้แจงว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 และวิตามินต่างๆ นั้น ช่วยสุนัขจากลดการเกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งป้องกันหรือบรรเทาการอักเสบของหลอดเลือดฝอย และการเสียหายของปอด อันเป็นผลกระทบจากการได้รับ PM2.5 ได้อีกด้วย
เพราะสุนัขไม่สามารถป้องกันตัวเองจากฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ ที่ต้องดูแลเขาอย่างดีที่สุดด้วยอาหารสุนัข “ด็อกเอ็นจอย คอมพลีท” ที่แสนอร่อย และยังอุดมไปด้วยโปรตีนเข้มข้น เต็มคุณค่าด้วยโอเมก้า 3,6,9 และ วิตามินและแร่ธาตุจำเป็นรวม 23 ชนิด ครบถ้วนด้วยคุณค่าสารอาหารจำเป็นที่สุนัขต้องการ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและขนสวยงาม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
อย่างไรแล้ว เราก็ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการตรวจประเมินสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หรือพาไปพบแพทย์เมื่อน้องเกิดอาการผิดปรกติด้วยนะ!
อ้างอิงจาก
- Selapoom Pairor DVM, MS, DTBVIM Department of Companion Animal Clinical Science, Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University.2021. baanlaesuan [Internet]. accessible from:https://www.baanlaesuan.com/183338/pets/health/particulate-matter-2-5
- doctors at Portland’s DoveLewis Emergency Animal Hospital. 2021. How To Protect Your Dog From Wildfire Smoke and Poor Air Quality [Internet]. accessible from: https://www.rover.com/blog/protecting-your-dog-from-wildfire-smoke-and-poor-air-quality/
บทความน่าสนใจ
ปัญหาสุนัขและแมวขนร่วง ผิวหนังแห้ง แดง อักเสบ! น้อง ๆ มีอาการกระสับกระส่าย คันตลอดเวลาดูทรมาณ เจ้าของอย่างเราก็ไม่สบายใจ กินนอนไม่ได้ไปด้วย เพราะมันอาจนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า แถมค่ารักษาพยาบาลก็ค่อนข้างสูง ต้องรักษายังไง หรือป้องกันด้วยวิธีไหนได้บ้าง ? ทำความเข้าใจ สาเหตุของโรคผิวหนังแมว และโรคผิวหนังสุนัข ใช้ชีวิตในห้องแอร์เป็นหลัก ด้วยความที่ประเทศไทยอากาศร้อนมาก หากเลี้ยงน้องหมาและน้องแมวไว้ในบ้าน และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องแอร์เป็นประจำ อย่าว่าแต่น้องหมาน้องแมวเลย แม้แต่ผิวหนังมนุษย์ยังเสียความชุ่มชื้นหากไม่ทาโลชั่น สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นมันจึงส่งผลเสียต่อผิวหนังของน้อง ๆ อย่างมาก พาไปว่ายน้ำ หรืออาบน้ำบ่อย สำหรับน้องหมา การอาบน้ำบ่อย หรือพาไปว่ายน้ำเป็นประจำ จะทำลายไขมันตามธรรมชาติที่ร่างกายน้องผลิต ซึ่งมีผลให้ผิวหนังแห้งตึง รวมถึงเส้นขนไม่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้เพื่อลดอาการสุนัขขนร่วง ตัดขนสั้นเกินไป หากเลี้ยงน้องหมาหรือน้องแมวที่มีขนยาว แล้วกลัวน้องหมาน้องแมวขนร่วงเยอะ จึงพาไปตัดขนจนสั้นเกรียน จะนำมาซึ่งความเสี่ยงผิวหนังโดนแสงแดดเผา และทำให้ผ […]
ทุกคนที่เลี้ยงสุนัขต้องเคยเห็นสุนัขทำท่าเกาหูแน่นอน ไ่ม่ว่าจะเป็นท่ายกขาหลังขึ้นมาเกาหู ท่าเอาหัวถูพื้นไปมา ไปจนถึงสะบัดหูด้วยท่าทีรำคาญหรือแสดงอาการเจ็บปวด ซึ่งนับว่าเป็นปัญหากวนใจอย่างมาก ทั้งสำหรับเจ้าของและเจ้าตูบเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าทำไมสุนัขของเราถึงมีปัญหาคันหู สาเหตุเกิดจากอะไร และเจ้าของควรจะเริ่มต้นแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด ให้น้องหมาหายขาดจากอาการดังกล่าว ตามมาดูกันเลย ปัญหาคันหูของสุนัข เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งภายนอกและภายใน โดยสามารถจำแนกสาเหตุ และต้นตอของการเกิดโรคได้หลัก ๆ ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ อาการคันหู หรือภาวะหูอักเสบนั้น มักจะพบได้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีใบหูใหญ่ และตกลงมาปิดช่องหู ซึ่งจะก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่ายกว่าสุนัขพันธุ์หูตั้งอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น สุนัขสายพันธุ์ บีเกิ้ล, โกลเด้น ริทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ ริทริฟเวอร์, คาวาเลียร์ คิง ชาลร์ สแปเนียล เป็นต้น สิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติเองก็มีสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มากมาย ทั้งไรฝุ่น และละอองเกสร มักพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่อายุ 6 เดือนถึง 3 ปี นำมาซึ่งอาการคันอวัยวะในร่างกายที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนท […]
โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อต่อ ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, ไซบีเรียนฮัสกี้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับข้อที่ต้องคอยรับน้ำหนักมาก หรือข้อที่ใช้งานมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยนอกเหนือจากการเสื่อมไปตามอายุของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ หรือ น้ำหนักตัวของน้องหมาที่มากเกินไป สุนัขของเราเป็นโรคข้อเสื่อมหรือไม่ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากอากัปกิริยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่สุนัขเริ่มทรงตัวได้ไม่ดี ร้องแสดงความเจ็บปวดเมื่อต้องขยับร่างกาย ทำให้น้องขยับตัวน้อยลง ในบางรายที่อาการหนัก น้องหมาอาจเดินในลักษณะที่ไม่ลงน้ำหนัก และเกิดอาการกล้ามเนื้อฝ่อตามมาได้ แน่นอนว่าการดูแลย่อมดีกว่าการรักษาอาการเจ็บป่วยของน้องในระยะยาว หากสุนัขของเรามีความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อม สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญที่สุดคือเรื่องน้ำหนักของสุนัข เนื่องจากข้อต่อต่าง ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้ ดังนั้นหากสุนัขมีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และเจ้าของต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรร […]