กุมภาพันธ์ 11, 2022

จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ น้องหมาน้องแมวติดโควิดได้ ?!

เคล็ดลับเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ น้องหมาน้องแมวติดโควิดได้ ?!

ตั้งแต่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ขึ้นมาก็ส่งผลกระทบให้โลกของเรามีความเปลี่ยนแปลงไปมากมาย โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของคนเราที่ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น แต่ด้วยความที่โรคนี้จัดเป็นโรคในกลุ่มโรคอุบัติใหม่ ทำให้เรามีความรู้เพียงเบื้องต้นว่าโรคนี้เป็นโรคระบาดในมนุษย์เท่านั้น ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเข้ารักษาตามรูปแบบต่าง ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ไม่ว่าจะเป็นระบบโรงพยาบาล ระบบ Hospitel หรือระบบ Home isolation โดยไม่ได้ระมัดระวังการใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์เลี้ยงเสียเท่าไหร่

 

แต่สุดท้ายกลับมีการตรวจพบ การติดเชื้อโควิด-19 ในน้องหมาจำนวน 3 จาก 35 ตัว และน้องแมวจำนวน 1 จาก 9 ตัว ใน 17 บ้านที่เข้ารับการรักษาในระบบ Home isolation ของประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน ปี 2564 โดยพบเจอสารพันธุ์กรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 ที่บริเวณโพรงจมูก ช่องปาก และลำไส้ของน้องหมาน้องแมว ภายใน 4 – 30 วันหลังจากยืนยันว่าเจ้านายเจ้าทาสติดเชื้อ และเมื่อทำการพิสูจน์แล้วพบว่าน้องหมาน้องแมวติดมาจากเจ้านายเจ้าทาสที่ติดเชื้อนั่นเอง โดยส่วนมากน้องหมาน้องแมวจะไม่มีอาการบ่งชี้การติดเชื้อใด ๆ มีสุขภาพที่แข็งแรงปกติ แต่จะมีเพียงน้องหมาอายุ 15 ปีแค่ตัวเดียวที่มีอาการจาม ร่วมกับการมีน้ำมูกเล็กน้อยซึ่งสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องทำการรักษา และเมื่อทำการตรวจซ้ำด้วยวิธีการ RT-PCR ภายใน 3-7 วัน ปรากฏว่าน้องหมาน้องแมวกลับไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 แล้ว โดยที่ไม่ได้ผ่านการรักษาใด ๆ

ซึ่งปรากฏการณ์นี้ต่างสร้างความตื่นตระหนกตกใจให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก ที่มีความกังวลว่าน้องหมาน้องแมวจะแพร่เชื้อไปสู่น้องหมาน้องแมวด้วยกันเองมั้ย หรือน้องหมาน้องแมวจะแพร่เชื้อกลับมาสู่คนได้รึเปล่า ซึ่งได้มีการยืนยันจากทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วว่า ถึงแม้น้องหมาน้องแมวจะสามารถติดโควิด-19 จากคนได้ แต่จะไม่สามารถแพร่เชื้อให้กันเองได้ รวมถึงไม่สามารถแพร่เชื้อกลับมาสู่คนได้อีกด้วย ดังนั้นปลอดภัยหายห่วงได้เลย!

สัวต์เลี้ยงติดโควิด

สรุปแล้วคือน้องหมาน้องแมวสามารถติดโควิด-19 ได้จริง แต่ด้วยความที่เชื้อนั้นเติบโตได้ไม่ดีในน้องหมาน้องแมว ส่งผลให้เชื้อนั้นจะค่อย ๆ หายไปเองได้ใน 7 วัน โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่ก็ควรเฝ้าระวังในน้อง ๆ ที่มีอายุมาก หรือป่วยมีโรคประจำตัวซึ่งตัวเชื้อนั้นอาจจะไปกระตุ้นให้อาการทรุดตัวลงได้ และถึงแม้ว่าน้องจะไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้ก็จริง แต่เมื่อเจ้านายเจ้าทาสติดเชื้อโควิด-19 ก็ควรแยกตัวจากน้องหมาน้องแมว เพื่อความปลอดภัย

 


 

แหล่งที่มา:

  1. Waleemas Jairak, Kamonpan Charoenkul, Ekkapat Chamsai, Kitikhun Udom, Supassama Chaiyawong, Napawan Bunpapong, Supanat Boonyapisitsopa, Rachod Tantilertcharoen, Navapon Techakriengkrai, Sirilak Surachetpong, Ratanaporn Tangwangvivat, Kamol Suwannakarn, and Alongkorn Amonsi. 2021. First cases of SARS-CoV-2 infection in dogs and cats in Thailand. Transbound Emerg Dis. doi: 10.1111/tbed.14383
  2. National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD) and Division of Viral Diseases. Centers for Disease Control and Prevention. 2021. Animals and COVID-19 [Internet]. accessible from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/daily-life-coping/animals.html

บทความน่าสนใจ

เคล็ดลับเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงจบปัญหาหมาแมวขนร่วงผิวแห้ง! อยากให้น้องขนสวย ผิวหนังแข็งแรง ต้องทำอย่างไร

ปัญหาสุนัขและแมวขนร่วง ผิวหนังแห้ง แดง อักเสบ! น้อง ๆ มีอาการกระสับกระส่าย คันตลอดเวลาดูทรมาณ เจ้าของอย่างเราก็ไม่สบายใจ กินนอนไม่ได้ไปด้วย เพราะมันอาจนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ยิ่งกว่า แถมค่ารักษาพยาบาลก็ค่อนข้างสูง ต้องรักษายังไง หรือป้องกันด้วยวิธีไหนได้บ้าง ?   ทำความเข้าใจ สาเหตุของโรคผิวหนังแมว และโรคผิวหนังสุนัข  ใช้ชีวิตในห้องแอร์เป็นหลัก ด้วยความที่ประเทศไทยอากาศร้อนมาก หากเลี้ยงน้องหมาและน้องแมวไว้ในบ้าน และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในห้องแอร์เป็นประจำ อย่าว่าแต่น้องหมาน้องแมวเลย แม้แต่ผิวหนังมนุษย์ยังเสียความชุ่มชื้นหากไม่ทาโลชั่น สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นมันจึงส่งผลเสียต่อผิวหนังของน้อง ๆ อย่างมาก  พาไปว่ายน้ำ หรืออาบน้ำบ่อย สำหรับน้องหมา การอาบน้ำบ่อย หรือพาไปว่ายน้ำเป็นประจำ จะทำลายไขมันตามธรรมชาติที่ร่างกายน้องผลิต ซึ่งมีผลให้ผิวหนังแห้งตึง รวมถึงเส้นขนไม่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนี้เพื่อลดอาการสุนัขขนร่วง ตัดขนสั้นเกินไป หากเลี้ยงน้องหมาหรือน้องแมวที่มีขนยาว แล้วกลัวน้องหมาน้องแมวขนร่วงเยอะ จึงพาไปตัดขนจนสั้นเกรียน จะนำมาซึ่งความเสี่ยงผิวหนังโดนแสงแดดเผา และทำให้ผ […]

เคล็ดลับเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงไขข้อข้องใจ สาเหตุทำไมสุนัขคันหู

ทุกคนที่เลี้ยงสุนัขต้องเคยเห็นสุนัขทำท่าเกาหูแน่นอน ไ่ม่ว่าจะเป็นท่ายกขาหลังขึ้นมาเกาหู ท่าเอาหัวถูพื้นไปมา ไปจนถึงสะบัดหูด้วยท่าทีรำคาญหรือแสดงอาการเจ็บปวด ซึ่งนับว่าเป็นปัญหากวนใจอย่างมาก ทั้งสำหรับเจ้าของและเจ้าตูบเลยทีเดียว วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันว่าทำไมสุนัขของเราถึงมีปัญหาคันหู สาเหตุเกิดจากอะไร และเจ้าของควรจะเริ่มต้นแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด ให้น้องหมาหายขาดจากอาการดังกล่าว ตามมาดูกันเลย ปัญหาคันหูของสุนัข เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งภายนอกและภายใน โดยสามารถจำแนกสาเหตุ และต้นตอของการเกิดโรคได้หลัก ๆ ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ อาการคันหู หรือภาวะหูอักเสบนั้น มักจะพบได้ในสุนัขสายพันธุ์ที่มีใบหูใหญ่ และตกลงมาปิดช่องหู ซึ่งจะก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่ายกว่าสุนัขพันธุ์หูตั้งอื่น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น สุนัขสายพันธุ์ บีเกิ้ล, โกลเด้น ริทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ ริทริฟเวอร์, คาวาเลียร์ คิง ชาลร์ สแปเนียล เป็นต้น สิ่งแวดล้อม  ในธรรมชาติเองก็มีสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้มากมาย ทั้งไรฝุ่น และละอองเกสร มักพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่อายุ 6 เดือนถึง 3 ปี นำมาซึ่งอาการคันอวัยวะในร่างกายที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะส่วนท […]

เคล็ดลับเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงดูแลสุนัขอย่างไร ให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อต่อ ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์, ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์, ไซบีเรียนฮัสกี้ โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับข้อที่ต้องคอยรับน้ำหนักมาก หรือข้อที่ใช้งานมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น โดยโรคข้อเสื่อม สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยนอกเหนือจากการเสื่อมไปตามอายุของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ หรือ น้ำหนักตัวของน้องหมาที่มากเกินไป สุนัขของเราเป็นโรคข้อเสื่อมหรือไม่ เบื้องต้นสามารถสังเกตได้จากอากัปกิริยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่สุนัขเริ่มทรงตัวได้ไม่ดี ร้องแสดงความเจ็บปวดเมื่อต้องขยับร่างกาย ทำให้น้องขยับตัวน้อยลง ในบางรายที่อาการหนัก น้องหมาอาจเดินในลักษณะที่ไม่ลงน้ำหนัก และเกิดอาการกล้ามเนื้อฝ่อตามมาได้ แน่นอนว่าการดูแลย่อมดีกว่าการรักษาอาการเจ็บป่วยของน้องในระยะยาว หากสุนัขของเรามีความเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อม สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญที่สุดคือเรื่องน้ำหนักของสุนัข เนื่องจากข้อต่อต่าง ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้ ดังนั้นหากสุนัขมีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และเจ้าของต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรร […]